Sea Air Thai Co Ltd.

ชุดรอกทดแรงถูกนำมาใช้ เพื่อให้ง่ายต่อการยกหรือเคลื่อนย้ายวัตถุหรือบุคคล อาศัยข้อได้เปรียบเชิงกล ซึ่งหมายถึง 'อัตราส่วน' ของแรงกระทำ force ที่เกิดจากการติดตั้งระบบรอกทดแรง ตัวอย่างเช่น ความได้เปรียบเชิงกลของระบบทดแรง 2:1 จะช่วยลดแรงดึงในการยกน้ำหนักวัตถุได้ถึงเท่าตัวหรือออกแรงเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำหนักที่ยก

โฟกัสผลิตภัณฑ์ – ชุดรอกทดแรงเอนกประสงค์ 4:1

ชุดรอกทดแรงถูกนำมาใช้ เพื่อให้ง่ายต่อการยกหรือเคลื่อนย้ายวัตถุหรือบุคคล อาศัยข้อได้เปรียบเชิงกล ซึ่งหมายถึง ‘อัตราส่วน’ ของแรงกระทำ force ที่เกิดจากการติดตั้งระบบรอกทดแรง ตัวอย่างเช่น ความได้เปรียบเชิงกลของระบบทดแรง 2:1 จะช่วยลดแรงดึงในการยกน้ำหนักวัตถุได้ถึงเท่าตัวหรือออกแรงเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำหนักที่ยก

ชุดรอกทดแรง 4:1

ระบบรอกทดแรงที่นิยมและพบได้บ่อย คือ ระบบทดแรงอัตราทด 4:1 ซึ่งเรียกอีกชื่อว่า set-of-fours (เซ็ต ออฟ ฟอร์) ซึ่งอุปกรณ์ประกอบชุดรอกทดแรง 4:1 ประกอบด้วย รอกคู่ 2 ตัวที่เชื่อมต่อด้วยเชือกเพื่อทำระบบทดแรง และโดยส่วนมากมักจะใช้กับรอกชนิดมีแคมล็อคกันตก progress capture pulley เพื่อป้องกันเชือกไหลกลับหรือล็อคเชือกไว้ในขณะสาวเชือกขึ้น ทำให้สามารถปล่อยมือในขณะดึงรอกได้อย่างปลอดภัย ช่วยให้การผ่อนลงเป็นเรื่องง่ายและสาวเชือกขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

ชุดรอกทดแรง 4:1 ขนาดพกพาพร้อมใช้ มีข้อดีหลายประการ เนื่องจากสามารถเก็บชุดรอกไว้ในกระเป๋าขนาดเล็กที่พร้อมใช้งานได้ทุกเมื่อ เพียงแขวนชุดรอกทดแรงไว้บนจุดยึดหรือสามขาที่มั่นคงแข็งแรง และเกี่ยวรอกด้านหนึ่งไว้กับวัตถุหรือบุคคลก็ใช้ดึงทดแรงได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาประกอบอุปกรณ์ จึงใช้งานง่ายและรวดเร็ว ลดระยะเวลาในการฝึกอบรมให้กับผู้ใช้งาน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำวิธีการประกอบชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ข้อดีคือผู้ที่ไม่มีความชำนาญก็สามารถใช้งานได้สะดวก จึงลดโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดขณะใช้งานได้

mechanical advantage pulley sets

ความแตกต่างระหว่างชุดรอกทดแรง 4:1

การใช้งานชุดรอกทดแรง 4:1

สามารถแบ่งการใช้งานหลักๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่ 

  • ใช้รอกทดแรงเพื่อปรับระยะหรือปรับองศา : ออกแบบมาเพื่อเป็นชุดรอกทดแรง 4:1 ประจำบุคคลขนาดกะทัดรัด หรือใช้ยกและผ่อนแนวดิ่ง, ใช้พ่วงต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ทันที พกพาและใช้งานง่าย , ใช้ยกบุคคลหรือเปลประกอบสามขากู้ภัย, ปรับองศาเปลกู้ภัยบนระบบเชือก, ปรับระยะบุคคลกันตกบริเวณขอบอาคารสูง หรือที่เรียกว่า jigger ใช้เคลื่อนย้ายวัตถุหรือทดแรงระยะสั้น, รั้งตรึงหรือผ่อนเชือก, กำหนดตำแหน่งในการทำงาน work positioning, ปรับองศาการยึดโยงสามขากู้ภัย ฯ ส่วนมากจะมีจำหน่ายเป็นชุดรอกทดแรงสำเร็จรูป ความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 4 เมตร ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน ชุดรอกสามารถใช้ปรับมุมหรือองศา ในการทำงานเข้าถึงพื้นที่ด้วยเชือก rope access หรือการใช้ระบบเชือกเพื่อช่วยเหลือกู้ภัย rope rescue
  • ระบบรอกทดแรงแนวดิ่ง : เป็นชุดรอกทดแรง 4:1 สำหรับการยกของหนักหรือบุคคลในแนวดิ่ง มาพร้อมกับเชือกที่ยาวกว่าชุดรอกขนาดพกพา โดยมักจะมาพร้อมเชือกยาว 60 เมตร (200 ฟุต) เพื่อให้สามารถยกสิ่งของกับหน้างานที่สูงถึง 15 เมตร
jiggers personal haul systems

ความหลากหลายของชุดรอกพร้อมใช้สำเร็จรูป

ชุดรอกพร้อมใช้สำเร็จรูป vs ชุดรอกประกอบเอง

ชุดรอกที่มีเชือกสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน : เป็นชุดรอกที่ผลิตจากโรงงานและออกแบบเพื่อให้แน่ใจว่าส่วนประกอบแต่ละชิ้นทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการทดสอบและรับรองแรงดึงอุปกรณ์ทั้งชุด มีการรับรองอัตรารับแรงดึงขั้นต่ำ (MBS) และอัตราแรงดึงที่แนะนำขณะทำงาน (WLL)

ชุดรอกแบบประกอบเอง : ผู้ใช้สามารถประกอบชุดรอกขึ้นเองได้เช่นกัน โดยเลือกอุปกรณ์แต่ละชิ้น เช่น รอก, เชือก, และอุปกรณ์จับเชือก และรอกชนิดมีแคมล็อคกันตกเชือก progress capture ซึ่งผู้ใช้จะต้องพิจารณาและทดสอบด้วยตนเอง ว่าอุปกรณ์ที่เลือกมาสามารถทำงานร่วมกันได้ และผู้ใช้จะตัองคำนวน อัตรารับแรงดึงขั้นต่ำที่อุปกรณ์จะเสียหาย (MBS) และอัตราแรงดึงที่แนะนำขณะทำงาน (WLL) จากอุปกรณ์ที่เลือกมาใช้เหล่านั้น

ข้อจำกัดของชุดรอก 4:1

ข้อจำกัดที่เห็นได้ชัดของชุดรอก 4:1 คือ ต้องใช้เชือกมากถึง 4 เท่าในการดึงทดแรงตามระยะทางที่รอกเคลื่อนที่ เช่น ในการยกเคลื่อนย้ายสิ่งของ 10 เมตร จะต้องดึงหรือสาวเชือกผ่านระบบทดแรงถึง 40 เมตร ซึ่งหากใช้ระบบทดแรงระยะสั้นไม่กี่เมตรมักจะไม่เป็นปัญหา แต่สำหรับพื้นที่สูงเกิน 6 เมตร จะต้องคอยดูว่าเชือกจะไม่พันหรือบิดเกลียวเข้าหากันหรือไม่ หรือต้องใช้ลูกหมุนเข้ามาเสริมหรือเลือกรอกที่มาพร้อมลูกหมุน เช่น  รอกรุ่น Omni Block , APEX

ซึ่งยิ่งหน้างานมีความสูงมาก การใช้ชุดรอกทดแรง 4:1 ต้องคอยตรวจสอบว่า เชือกสัมผัสหรือขูดและเกิดการสึกหรอหรือไม่ หากเชือกพันเกลียวหรือเชือกไม่อยู่ในแนวดิ่ง ไม่สามารถวิ่งผ่านรอกได้อย่างอิสระ จะทำให้เกิดแรงเสียทานที่เชือกมากขึ้น เมื่อแรงเสียดทานเพิ่มขึ้น ทำให้ระบบทดแรงสูญเสียประสิทธิภาพ และไม่ได้อัตราทดแรงที่ต้องการ ต้องเพิ่มแรงดึงและเชือกอาจเกิดความเสียหาย เป็นอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะใช้งาน

สำหรับหน้างานหรือพื้นที่สูงกว่า 10 เมตร ควรเปลี่ยนไปใช้รอกกว้านซึ่งสามารถทดแรงได้มากกว่า 4 เท่า เป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และยังสามารถใช้เชือกเส้นเดียวหรือใช้ร่วมกับอุปกรณ์ล็อคจับเชือกกันตกได้

สอบถามข้อมูลเพิ่ม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่ ติดต่อเรา.

เลือกซื้อชุดรอกทดแรง 4:1 ขนาดพกพา

เลือกซื้อชุดรอกทดแรง 4:1 สำหรับยกแนวดิ่ง

ภาพสินค้าและข้อความ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้จัดทำเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้เชิงพานิชย์ทุกกรณี โปรดอ้างอิงที่มาทุกครั้ง

ที่มาที่ไปและการเลือกใช้เงื่อนเชือกพรูสิค

การพันเชือก Hitch (ฮิตช์) เป็นหนึ่งในการทำเงื่อนเชือก knot (น็อต) โดยการพันเชือก คือเงื่อนประเภทหนึ่งที่เอาไปพันรอบวัตถุ โดยถ้านำวัตถุนั้นออก เงื่อนก็จะคลายตัวและหลุดออกจากการผูกอย่างง่ายดาย การพันเชือกเงื่อนนั้นใช้ประโยชน์ได้หลายวัตถุประสงค์ แต่หนึ่งในวัตถุประสงค์หลัก คือ ผูกเงื่อนเพื่อใช้เป็นตัวจับเชือก เพื่อให้เชือกสองเส้นอยู่รวมกัน โดยที่สามารถเคลื่อนหรือขยับเปลี่ยนตำแหน่งได้ง่าย การพันเงื่อนจับเชือกมีหลายรูปแบบ แต่ที่มักนิยมใช้กันบ่อยที่สุดมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้

Read More »

ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ ในการทำงานเชือกกู้ภัย

การทำงานด้านเชือกกู้ภัย Rope Rescue เป็นงานที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความเชี่ยวชาญและทักษะเฉพาะด้าน เพื่อจัดการความปลอดภัย ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด ซึ่งอาจตามมาด้วยการบาดเจ็บและอันตรายถึงชีวิต. ปัจจัยเสี่ยงมากมายรายล้อม ทั้งความไม่เป็นใจในสภาพอากาศ แสงสลัวมัวมืดบดบังวิสัยทัศน์ มองไปทางไหนก็ไม่ชัดเจน ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เลวร้าย ยังไม่วายต้องใช้ความเร็วไปช่วยคนให้พ้นจากอันตราย แล้วจะทำอย่างไรให้ความเสี่ยง เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้.

Read More »

แผ่นกระจายน้ำหนัก คือ อะไร

แผ่นกระจายน้ำหนัก (Anchor plate) และห่วงรูปตัวโอ (โอ-ริง) ช่วยในการจัดการระบบเชือกให้เป็นระเบียบ แยกแรงดึงของอุปกรณ์ที่ยึดเกี่ยว ออกในแต่ละจุดที่คล้อง แรงดึงจึงกระจายไปตามทิศทางที่ชัดเจนและเป็นระเบียบ ช่วยให้เชือกไม่ขวาง หรือตัดกันเอง ไม่ไขว้หรือขวางกันในขณะใช้งาน

Read More »

ฮาร์เนสงานต้นไม้ แตกต่างอย่างไร

ฮาร์เนสปีนต้นไม้ Arborist Harness ถูกออกแบบสำหรับการทำงานบนต้นไม้โดยเฉพาะ เน้นการเคลื่อนไหวได้รอบทิศทาง รับน้ำหนักผู้ใช้งานที่จุดยึดตรงกลางเอว ส่วนมากมักทำจากห่วงโอริง ที่เคลื่อนที่ไปมาได้บนสะพานเชือก Bridge ซึ่งเป็นเชือกชนิดพิเศษที่ไม่ยืดตัว และทนต่อการสึกหรอสูง เป็นข้อแตกต่างที่ช่วยให้ผู้ปฎิบัติงานบนต้นไม้ Tree Worker Climber เคลื่อนที่ด้วยองศาที่รอบด้าน มากกว่าการมีจุดยึดกลางเอวจุดเดียวเหมือนฮาร์เนสทำงานบนที่สูง หรือฮาร์เนสกู้ภัยทั่วไป

Read More »