Tree Climbing

เข้าใจระบบการทำงานบนต้นไม้

การทำงานบนต้นไม้ เป็นการทำงานจากพื้นล่างสู่ด้านบน ต้องมีวิธีการและอุปกรณ์ เพื่อนำเชือกขึ้นไปติดตั้งบนต้นไม้ รวมถึงเตรียมป้องกันการเสียดสีที่จุดพาดเชือก เพื่อป้องกันเชือกขาดหรือกิ่งไม้ถูกเสียดสีจนหัก ผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ต้องมีทักษะการโยนติดตั้งเชือก และควรมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ในการแขวนเชือกบนกิ่งไม้ที่แข็งแรงเพียงพอ ในการรับน้ำหนักตัวผู้ปฎิบัติงานหรือการหย่อนกิ่งไม้ลงหลังตัดแต่งรวมถึงการป้องกันจุดพาดเชือกให้ปลอดภัย (ชุดเชือกโยน Throwline Set)

การทำงานบนต้นไม้ เป็นการใช้ทักษะการเคลื่อนไหว และทิศทางการทำงานแบบ 3 มิติ โดยมีทั้งการขึ้นและลงทั้งแนวดิ่งข้างลำต้น และการเดินออกจากลำต้นไปยังปลายกิ่ง หรือไปต่อยังกิ่งอื่นๆ ในทิศทางต่างๆ ภายในทรงพุ่มเพื่อตัดแต่ง โดยมี 2 ส่วนหลักๆ ที่ต้องคำนึงถึง

ส่วนที่ 1 : การทำงานบนต้นไม้ มีความเสี่ยงจากการตก จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยล็อคตัวผู้ปฏิบัติงาน หรือช่วยหยุดอยู่บนเชือกในตำแหน่งต่างๆ ไม่ว่าจะใช้เงื่อนจับเชือก หรืออุปกรณ์จับเชือกเพื่อขึ้นลงต้นไม้รูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้สามารถไต่ขึ้นเชือก หรือโรยตัวลงมาได้โดยไม่ต้องถอดและเปลี่ยนด้วยอุปกรณ์

ส่วนที่ 2 : วิธีการดันตัวขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ช่วยยกตัวในรูปแบบต่างๆ เช่น มือจับไต่ขึ้นต่อด้วยสายโยงรั้งเท้า โดยดันมือจับขึ้น แล้วใช้เท้าเหยียบห่วงของสายโยงรั้งเท้าเพื่อยกตัวขึ้น หรืออุปกรณ์ไต่เชือกแบบสวมเท้า โดยดันตัวขึ้นเชือกด้วยการยกและดันขาลง ทำซ้ำจนไต่ขึ้นถึงจุดที่ต้องการ

ระบบเชือกแบบเคลื่อนที่-เชือก 2 เส้น MRS(Moving Rope System)

เทคนิคการปีนด้วยระบบเชือกแบบเคลื่อนที่ หรือเชือก 2 เส้น MRS (Moving Rope System)

 เทคนิคการปีนด้วยระบบเชือกแบบเคลื่อนที่ หรือเชือก 2 เส้น MRS (Moving Rope System) หรือแต่เดิมเรียกว่า DRT (Double Rope Technique) และ DdRT (Doubled Rope Technique) เทคนิคการปีนแบบเชือกคู่ หรือเชือกสองเส้น มักจะเป็นระบบเชือกแรกๆที่ถูกสอน ในการติดตั้งเชือกเพื่อทำงานบนต้นไม้ใหญ่ให้กับผู้เริ่มปีน ข้อแตกต่างคือในระบบเชือกเคลื่อนไหว MRS system เชือกจะพาดผ่านไปบนกิ่งไม้หรือง่ามของต้นไม้ หรือใช้เชือกสอดผ่านรูของสายโยงคล้องกิ่งไม้ friction/cambium saver โดยเชือกจะกลับมาที่ตัวของผู้ปีน และตัวเชือกจะเลื่อนขึ้นและลงเมื่อมีการปีนขึ้นต้นไม้ เมื่อเชือกพาดลงมา 2 เส้นจากด้านบน ผู้ปีนจะแค่ใช้แรงดันตัวขึ้นเพียงครึ่งเดียวของน้ำหนักตัวทั้งหมด ข้อจำกัดคือจะต้องใช้เชือกที่ยาวเป็น 2 เท่าของความสูงของต้นไม้ที่ต้องการขึ้นไปตัดแต่ง เพื่อให้เชือกไหลผ่านกลับลงมาด้านล่างได้ เช่น ต้องใช้เชือกปีนยาว 20 เมตร ในการปีนขึ้นต้นไม้ที่สูง 10 เมตร

เทคนิคการปีนด้วยระบบเชือกคงที่ หรือเชือกเส้นเดียว SRS (Stationary Rope System)

เทคนิคการปีนแบบใช้เชือกเส้นเดียว ในระบบเชือก Stationary Rope System (SRS) เชือกจะไม่เคลื่อนที่ไปกับตัวผู้ปีนเหมือน MRS ปลายเชือกจะถูกผูกอยู่ที่โคนต้นไม้ หรือหลักยึดบนพื้นล่าง หรือยึดไว้บนต้นไม้ ผู้ปีนจะต้องเคลื่อนตัวไปตามเชือกที่พาดไปยังจุดต่างๆ เชือกที่ไม่เคลื่อนที่จะช่วยให้การปีนขึ้นทำงาน ได้ระยะตามการก้าวหรือเคลื่อนที่ของผู้ปีน เช่น ถ้าปีนขึ้น 1 เมตร ความยาวเชือกที่ต้องใช้ปีนจะเท่ากับ 1 เมตรเท่ากัน แต่อาจจะต้องดันน้ำหนักตัวทั้งหมดแทนที่จะออกแรงเพียงครึ่งเดียว แบบระบบเชือกเคลื่อนที่ MRS system เมื่อใช้เทคนิคเชือกคงที่ SRS systems ซึ่งใช้เชือกเพียง 1 เส้น ผู้ปีนจะต้องมีเทคนิคการปีนและฝึกฝนให้ชำนาญร่วมด้วย

อุปกรณ์ติดตั้งเชือก สำหรับทำงานบนต้นไม้

เชือกปีนต้นไม้

รวมเชือกสำหรับการทำงานบนต้นไม้ ทั้งเชือกหลักในการปีนต้นไม้  เชือกปีนต้นไม้ เชือกสำหรับโยงกิ่งไม้ เชือกพันโคนต้นไม้