ถ้าระบบ RPM (อาร์พีเอ็ม) แบบเดิมๆ ยังเพิ่มความเสี่ยง คุณจะเลือกหรือจะเลี่ยง?

ถ้าระบบ RPM (อาร์พีเอ็ม) แบบเดิมๆ ยังเพิ่มความเสี่ยง คุณจะเลือกหรือจะเลี่ยง?

เราได้อธิบายความแตกต่างระหว่างการทำงานเชือกกู้ภัย Rope Rescue กับการใช้ทักษะด้านเชือกเข้าถึงพื้นที่ Rope Access ในหลายบทความก่อนหน้านี้ โดย Rope Rescue เน้นที่การทำงานเป็นทีม ในขณะที่ Rope Access เป็นทักษะส่วนบุคคล ที่ส่วนมากจะใช้ในการรับทำงานบนที่สูง ซึ่งมีการวางแผนชัดเจนล่วงหน้า. ขอยกความแตกต่างเป็นตัวอย่างง่ายๆ เช่น ในการทำงาน Rope Rescue การทำระบบเชือกเพื่อดึงขึ้นหรือผ่อนลง สำหรับเจ้าหน้าที่กู้ภัยหรือผู้บาดเจ็บ เชือกที่ใช้จะเคลื่อนไหวไปตามวิธีการติดตั้งและยึดโยงโดยทีมกู้ภัย บางที่เรียกทีมกู้ภัยทางสูง ในขณะที่วิธีการขึ้นและลงเชือกแบบ Rope Access เชือกจะอยู่กับที่ มีแต่ผู้ปฏิบัติงานเท่านั้นที่ต้องใช้ทักษะไปกับการทำงานขึ้นและลงเชือก.

สถานการณ์กู้ภัยที่พบเห็นได้บ่อย คือการช่วยเหลือจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ซึ่งสมาชิกในทีมจะเริ่มทำงานมาจากด้านบน และผ่อนเจ้าหน้าที่ลงไปให้ถึงตัวผู้ประสบภัยด้านล่าง แล้วจึงวางแผนว่าจะผ่อนลงต่อไปให้ถึงพื้น หรือจะช่วยกันดึงขึ้น จะเลือกวิธีไหนก็ต้องใช้วิจารญาณ ประเมินพื้นที่หน้างานและอาการบาดเจ็บ กระชับเวลาที่ใช้และกำหนดที่หมายในการนำส่ง รวมถึงการปฐมพยาบาล ว่าสามารถทำได้เต็มที่และดีแค่ไหน เพื่อความปลอดภัยของผู้บาดเจ็บ. สถานการณ์กู้ภัยที่พบเห็นได้บ่อย คือการช่วยเหลือจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ซึ่งสมาชิกในทีมจะเริ่มทำงานจากด้านบน และผ่อนเจ้าหน้าที่ลงไปให้ถึงตัวผู้ประสบภัยด้านล่าง แล้วจึงวางแผนต่อว่าจะผ่อนลงไปให้ถึงพื้น หรือจะช่วยกันดึงขึ้น จะเลือกวิธีไหนก็ต้องใช้วิจารญาณ ประเมินพื้นที่หน้างานและอาการบาดเจ็บเป็นหลัก โดยเน้นกระชับเวลาที่ใช้และกำหนดที่หมายในการนำส่ง รวมถึงการปฐมพยาบาล ว่าสามารถทำได้เต็มที่และดีแค่ไหน ในขณะที่ความปลอดภัยของผู้บาดเจ็บอยู่ในกำมือ.

วิธีดั้งเดิม ทีมกู้ภัยมักจะใช้เชือก 2 เส้น เป็นเชือกเมนหลักที่ใช้ในการผ่อนขึ้นและลง โดยมีเชือกเส้นที่สอง คอยประคองเชือกหลักไว้ เพื่อให้ป้องกันการตกได้ทันทีหากมีอุบัติเหตุ. การทำเช่นนี้แม้จะมีแผนสำรอง แต่ก็ยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้องให้ป้องกัน.

Components of an RPM Rope Rescue System
องค์ประกอบของอุปกรณ์ในระบบ RPM

Main Line – ระบบเชือกหลัก ด้วยวิธีการแยกระหว่างเชือกหลักและเชือกกันตก.

การใช้เชือกหลัก 1 เส้น เป็นตัวดึงน้ำหนักขึ้นหรือผ่อนลง เรียกทั่วไปในชื่อว่า Rack แร็ค, Pulley พู-เล่ , Mariners มา-ริ-เนอร์ (RPM อาร์ พี เอ็ม) RPM เป็นองค์ประกอบหลักของระบบ :

Rack (แร็ค) หรือรางเบรคโรยตัว: มีชื่อเต็มว่า brake bar rack (เบรค บาร์ แร็ค) ในยุคแรกเริ่ม แร็ค นิยมใช้เป็นอุปกรณ์ผ่อนลงสำหรับงานกู้ภัย เรทให้รับน้ำหนักบุคคลได้ 2 คน (Rescue load) แรกเริ่มเดิมที รางเบรคโรยตัว ออกแบบเพื่อใช้ในการสำรวจถ้ำ ที่ต้องโรยตัวลงที่ต่ำไปไกลได้หลายร้อยเมตร โดยการปรับช่องว่าง สร้างแรงเสียดทานที่พอใจตามน้ำหนักผู้ใช้งาน แต่ละรางสามารถแยกให้ห่าง หรือดันให้เข้าได้เท่าที่ต้องการ เชือกไหลผ่านรางไปในแนวดิ่ง แกนเชือกจึงทิ้งตัวตรงไม่โค้งงอ ในการรับน้ำหนักสำหรับงานกู้ภัย อาจผันแปรไปตามสถานการณ์ แม้จะเริ่มด้วยการช่วยรับน้ำหนักคนหนึ่งคนไว้ สุดท้ายอาจต้องเคลื่อนย้ายได้ถึงสอง หรืออาจจะต้องปรับเพื่อรับน้ำหนักที่มากขึ้นไปในยามฉุกเฉิน ข้อดีของการปรับเพิ่มหรือลดแรงเสียดทานได้ตามต้องการ ทำให้รางเบรคนิยมใช้เพื่อการกู้ภัยในสมัยนั้น.

Pulley รอก: รอกถูกนำมาใช้ในการสร้างความได้เปรียบเชิงกล หรือทำระบบทดแรง รอกส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์สองทาง เชือกวิ่งไปบนล้อรอกได้ทั้ง 2 ฝั่ง ต้องดึงค้างไว้ไม่ให้น้ำหนักที่ยกขึ้นไปไหลร่วงหล่น การจะแก้ปัญหาเชือกไหล ต้องทำให้รอกสามารถล็อคได้ หรือควรใช้รอกที่มีอุปกรณ์ล็อคเชือก “progress capture” การป้องกันเชือกไหลแบบง่ายๆ โดยทั่วไปจะใช้เชือกเส้นสั้นๆ พันเป็นเงื่อนจับเชือก friction hitch แรงเสียดทานมาจากการพัน แบบเรียงชิดกันไม่เกิน 3 รอบ (เงื่อนพรูสิค prusik) ในการทำงานกู้ภัยเมื่อนำพรูสิคมาใส่ ในฝั่งเชือกที่ใช้ยกผู้ประสบภัย ก็จะช่วยให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น.

Mariner มาริเนอร์: คือการพันเชือกให้คลายและขยายยาวออกได้ เป็นวิธีการอย่างง่ายในการจับรั้งเชือกไว้ เมื่อต้องใช้ปรับสลับการลงให้กลายเป็นดึงขึ้น. เรี่มจากการล็อคเชือกไว้ในเบรคบาร์ แล้วมาต่อรอกพร้อมอุปกรณ์ล็อคเชือก หรืออาจเลือกใช้เงื่อนพรูสิค (prusik hitch) จากนั่นปลดเบรคบาร์เพื่อมาดึงรอกขึ้น. ความซับซ้อนอยู่ที่ตอนสลับปรับระบบ จากดึงขึ้นไปให้เป็นผ่อนลงได้อีกครั้ง.

เมื่อเชือกตึงด้วยการถูกดึงไว้ในอุปกรณ์จับเชือก ต้องเลือกหาวิธีที่จะคลาย โดยทั่วไปจะใช้เงื่อนมาริเนอร์ Mariners Hitch (มา-ริ-เนอ-ฮิตช์) หรือ Load Release Hitch เงื่อนพันปลายใช้ปรับระยะ หรือใช้สายโยงผ่อนน้ำหนัก load release strap ในการสลับปรับเป็นผ่อนลง. เริ่มจากนำเบรคบาร์กลับเข้ามาติดตั้ง ก่อนจะปลดสายใช้ปรับระยะ ให้น้ำหนักถูกถ่าย ย้ายมาบนเบรคบาร์ เพื่อกลับมาผ่อนและหย่อนลง.

ไม่ว่าจะใช้เงื่อนเชือกมาริเนอร์ mariner (มา-ริ-เนอ) หรือใช้สายโยงผ่อนน้ำหนัก จะผ่อนตรงไหนจะปลดอะไร หากไม่ฝึกใช้ให้คุ้นเคย อาจลงเอยด้วยความล่าช้า และปัญหาที่ต้องแก้ไขในระหว่างติดตั้ง เป็นการเสี่ยงต่ออันตราย ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ.

การจับและควบคุมเชือกกันตก (เชือกเซฟตี้) อย่างเหมาะสม

Belay line – เชือกประคองกันตก

เชือกที่ใช้ในระบบกันตก ปกติจะไม่ใช่เชือกหลัก ที่แบกน้ำหนักไว้เต็มร้อย. ระบบ RPM แบบดั้งเดิมจะเพิ่มเชือกพรูสิคไว้ให้ครบ 2 เส้น เพื่อเป็นตัวจับรับน้ำหนัก เมื่อเชือกหลักเกิดอุบัติเหตุ การเปลี่ยนน้ำหนักจากเชือกหลัก ถ่ายไปให้เชือกกันตกรับไว้ ดูผิวเผินเหมือนเป็นเรื่องง่าย แท้จริงอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ หากเผลอให้เชือกหย่อน ต้องควบคุมการผ่อนให้พอดี ในทุกนาทีที่ใช้งาน.

จังหวะในการควบคุมเชือกกันตก อยู่ที่การเลือกหาระยะพอดีที่ไม่หย่อนเกินไป เพื่อลดอันตรายจากแรงกระชากที่รุนแรง หากตึงมากไปหรือปล่อยให้พรูสิคจับ ต้องพยายามดึงกลับหรือสลับเป็นดึงเชือกขึ้นมาใหม่ ให้น้ำหนักเปลี่ยนถ่ายย้ายไปยังเชือกเมน. ยิ่งเป็นการล่าช้าและใช้เวลามาก สร้างความยุ่งยากให้กับทีม.

หากเกิดอุบัติเหตุที่เชือกหลัก เชือกกันตกหรือเชือกเซฟตี้ จะจับไว้ได้ทันทีหรือไม่?

อีกปัจจัยที่อันตรายในระบบ RPM แม้ว่าจะประคองให้เชือก 2 เส้น ขนานกันอย่างพอดี ก็ยังมีอัตราการยืดตัว elongation เป็นปัจจัยให้ต้องกังวลอยู่ไม่น้อย ด้วยธรรมชาติของเชือกเป็นเส้นใยที่เคลื่อนไหว แม้จะเลือกใช้เชือกที่ให้การยืดตัวต่ำ Static Rope ตามมาตรฐานงานกู้ภัย ก็ยังไม่วายยืดตัวออกไป เมื่อใช้รับน้ำหนัก NFPA 1983 ระบุว่าอัตราการยืดตัวขั้นต่ำ ของเชือกที่ใช้ในงานกู้ภัย ควรอยู่ในช่วงระหว่าง 1% แต่ไม่ควรเกิน 10% ถ้านับเป็นค่ากลางจะอยู่ระหว่าง 5% หากปล่อยให้เชือกกันตก มีช่วงหย่อนก่อนเกิดเหตุ เมื่อเชือกหลักถูกกระชาก จะผลักน้ำหนักมาเต็มที่ หากเชือกเส้นนี้มีเจ้าหน้าที่หรือผู้ป่วยมาด้วย เชือกที่ยาวราว 50 เมตร เมื่อเกิดเหตุจะยืดขยายยาวออกไปได้อีก 2.5 เมตร (อัตรายืด 5%) ก่อนที่พรูสิคจะจับและรับน้ำหนักไว้ได้ทัน โอกาสที่ผู้บาดเจ็บหรือใคร ที่แขวนไปบนเชือกเส้นนั่น อาจต้องเสี่ยงต่อการตกร่วมกัน อย่างเลี่ยงไม่ได้.

แม้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่บาดเจ็บ แต่น้ำหนักผลักกระชาก และลากพรูสิคให้ตึง ถึงเวลาต้องตัดสินใจ ว่าจะใช้การต่อรอก เพื่อยกน้ำหนักออกจากเชือก หรือจะเลือกวิธีไหน มาแก้ไขให้ปลอดภัยและไวที่สุด.

ในอดีตการกู้ภัยโดยใช้ระบบ RPM เป็นวิธีแรกเริ่มที่แต่เดิมนิยมใช้ ในสมัยที่เบรคบาร์ ถูกออกแบบมาให้ใช้ รับน้ำหนักในการกู้ภัย และกลายเป็นหนึ่งในหัวข้อการสอน ให้รู้ขั้นตอนการสลับปรับการขึ้นและลงเชือก และยังเป็นทางเลือกที่ประหยัด จากการผสมอุปกรณ์ที่มีใช้ แทบไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่ม แต่ละขั้นตอนค่อนข้างซับซ้อน และใช้อุปกรณ์หลากหลาย ต้องอาศัยการทบทวนเป็นประจำ เพื่อให้ทำได้โดยไม่สับสน ท่ามกลางความโกลาหลของหน้างาน ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หากการฝึกมีค่าใช้จ่าย ภายใต้เวลาที่จำกัด การเน้นวิธีประหยัดอาจกลายเป็นยุ่งยาก ซึ่งทีมกู้ภัยส่วนใหญ่มักจะไม่มีเวลา จึงต้องปรับหาวิธีการที่เรียบง่าย ทำได้ปลอดภัยและไม่ซับซ้อน. ปัจจุบันอุปกรณ์ใหม่ๆ มีให้เลือกหลากหลาย และช่วยแก้ไขอุปสรรคในการทำงานด้วยวิธีการเดิมๆ ในวันที่โลกก้าวไปไกลด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ การใช้ RPM ในระบบเชือกกู้ภัย ยิ่งจะกลายเป็นความเข้าใจในตำรา จากข้อเสียที่มีและข้อดีที่ไม่มาก ทั้งข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงต่ออันตราย และการใช้เวลาซึ่งนานกว่าวิธีอื่น.

การลดความเสี่ยง เป็นเรื่องที่เลี่ยงได้ หากไม่ใช้ RPM ควรใช้วิธีไหน หาคำตอบได้ในบทความต่อไปของเรา.


หมวดหมู่สินค้า